top of page

เพื่อสุขภาพ

การบริโภคผักมากขึ้นและการงดบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นและช่วยป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคมะเร็งบางชนิด รวมทั้งโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและอาการดื้อยา

  • แม้ว่าประเทศไทยสามารถผลิดผักผลไม้ได้จำนวนมาก แต่ชายไทยบริโภคผัก ผลไม้เฉลี่ยต่อวันที่ 268 กรัม และหญิงไทยบริโภคผักผลไม้ 283 กรัมต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าปริมาณผักผลไม้ที่องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำอยู่ที่ 400 กรัมต่อวัน

  • อัตราการเติบโตของอุตสากรรมเกษตรและอาหารในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาทำให้คนไทยเข้าถึงอาหารที่หลากหลายมากขึ้น รวมถึงโปรตีนจากสัตว์ และอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง การบริโภคที่เปลี่ยนไปทำให้อัตราการเกิดขึ้นของโรคไม่ติดต่อในประชากรไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น โรคพาร์กินสัน โรคภูมิคุ้นกันบกพร่อง โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคไต โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้กลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของคนไทยในช่วงสิบปีที่ผ่านมา

  • หลักฐานทางวิทยาศาสตร์แสดงความเกี่ยวข้องระหว่างการบริโภคอาหารที่มาจากสัตว์และโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคมะเร็งหลาย ๆ ชนิด 

  •  ขณะเดียวกัน การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ระบุว่า การบริโภคที่ลดปริมาณผลิตภัณฑ์จากสัตว์และเน้นผักผลไม้ช่วยป้องกันโรค เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคหัวใจขาดเลือด โรคมะเร็งบางชนิด ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคถุงผนังลำไส้อักเสบ โรคต้อกระจก โรคข้อเสื่อม อาการของไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะเมแทบอลิกซินโดรม

ลดความเสี่ยงโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนและภาวะดื้อยา

ฟาร์มปศุสัตว์เป็นแหล่งกำเนิดและแพร่โรคติดต่อจากสัตว์สู่คน เช่น อีโบล่า ไข้หวัดนก ซาร์ส หรือ โควิด 19

ประมาณ 60% ของโรคติดต่อทั้งหมดในคนเป็นโรคติดต่อที่แพร่จากสัตว์สู่คน โรคติดต่อจากสัตว์สู่คนเป็นเหตุให้คนเสียชีวิต 2.7 พันล้านคนทั่วโลก และเป็นสาเหตุของโรคที่เกิดกับคนอีก 2.5 พันล้านกรณี

การใช้ยาปฏิชีวนะในหมู วัว ไก่และปลาได้สร้างภาวะเชื้อดื้อยา เมื่อแบคทีเรียทนต่อยาปฏิชีวนะที่ให้กับสัตว์ เชื้อแบคทีเรียนั้นก็จะดื้อกับยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษาคนไข้ที่ป่วยด้วย

bottom of page