top of page

เพื่อโลก

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เผยให้เห็นว่าการเพิ่มปริมาณการบริโภคผักผลไม้และลดปริมาณอาหารที่มาจากสัตว์จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ

เนื่องจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์มีการใช้น้ำและพื้นที่ทางการเกษตรจำนวนมหาศาล รวมถึงการตัดไม้ทำลายป่าและการปล่อยของเสียลงแหล่งน้ำ รายงานเกี่ยวกับภาวะภูมิอากาศและดินฉบับล่าสุดของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ได้แนะนำว่า การลดการบริโภคผลิตภัณฑ์จากสัตว์และเพิ่มการบริโภคอาหารจากผักผลไม้สร้างโอกาสสำคัญในการบรรเทาภาวะภูมิอากาศเปลี่ยน 

การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมปศุสัตว์คิดเป็น 14.5% ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่มาจากกิจกรรมของมนุษย์ และส่งผลโดยตรงต่อภาวะโลกร้อน

ในประเทศไทย มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากอุตสาหกรรมปศุสัตว์อย่างเดียวคิดเป็น 23.8% โดยการเปลี่ยนอาหารของเราให้เป็นอาหารที่มาจากพืชเป็นหลักจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

การผลิตเนื้อ ไข่ และผลิตภัณฑ์นมใช้ที่ดินทำกินทั้งหมดบนโลกนี้กว่า 83% และสามารถผลิตอาหารให้คนทั้งโลก คิดเป็นแคลอรีได้เพียง 18%

การขยายการเพาะปลูกพืชที่เป็นอาหารสัตว์แลกมาด้วยการสูญเสียของระบบนิเวศทางธรรมชาติ เช่น ป่าแอมะซอน ทุ่งเซอราโดในบราซิล และทุ่งชาโคในอาเจนติน่า รวมถึงยังเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพดินเสื่อมความสมบูรณ์ อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ในประเทศไทยนำเข้าถั่วเหลืองป่นจากบราซิลและอาเจนติน่า

ในประเทศไทย การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรเท่ากับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 61.29 ล้านตัน

ไฟป่าคือ การบุกรุกป่าเพื่อเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวโพด เป็นพืชที่มีความต้องการทางตลาดสูงในประเทศไทย การเตรียมดินได้สร้างมลพิษทางอากาศ คุณภาพอากาศในพื้นที่ภาคเหนือบางส่วนวัดค่าได้สูงกว่ามาตรฐานอากาศโลก

bottom of page